วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561


วัน ศุกร์ ที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.. 2561
            
              วันนี้อาจารย์นัดให้มาส่งงานกลุ่ม แผนการสอนของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ไปแก้ไข กลุ่มของดิฉันเขียนแผนเรื่อง หน่วยมะละกอ




ตัวอย่างแผนการสอน


วัน พุธ ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้อาจารย์พูดเรื่องหลังจากไปสอนเด็กที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลับ ( บ้านเสือใหญ่ ) ในโครงการ สอนน้องทดลองวิทย์ ถามความรู้สึกหลังจากที่ได้ไปว่าเป็นยังไง และเราจะนำข้อผิดพลาดนั้นมาแก้ไขยังไงให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเด็กในมูลนิธิมีตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปการทดลองวิทยาศาสตร์บางอย่างเลยทำให้เด็กที่ยังเล็กอยู่ไม่เข้าใจหรือไม่กล้าเข้าร่วม  ผู้สอนต้องปรับให้เหมาะสม อธิบายขั้นตอนการทดลองอย่างชัดเจน และดูแลความปลอดภัยระหว่างทดลอง
            อาจารย์ให้ส่ง Mind mapping ของแต่ละกลุ่มที่มอบหายให้ทำ กลุ่มของดิฉันทำเรื่อง หน่วยมะละกอ ประกอบด้วย
1.ชื่อ /  สายพันธุ์มะละกอ
2.ลักษณะของมะละกอ
3.วิธีการปลูก
4.ประโยชน์
5.โทษ
6.การดูแลรักษา
            แบ่งออกเป็น 6 กิจกรรมหลัก และนำไปปรับใช้ใน 1 สัปดาห์
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ร้องเพลงพร้อมประกอบท่าทาง เพลง มะละกอ
2.กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กๆ ฉีกกระดาษและแปะลงบนรูปมะละกอ
3.กิจกรรมเสรี ให้เด็กๆ เล่นบทบาทสมมติเกี่ยวกับการขายสินค้า โดยใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบ
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับมะละกอ เช่น ประโยชน์ โทษ สายพันธุ์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง ครูพาเด็กไปสวนมะละกอและร่วมกันปลูกมะละกอ
6.กิจกรรมเกมการศึกษา เด็กๆ จับคู่ภาพระหว่างมะละกอกับประโยชน์ของมะละกอ

                                              


การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและร่วมตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
เพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่บางคนมาสาย บางคนตั้งใจฟังและร่วมตอบคำถามจากอาจารย์ แต่บางคนไม่สนใจเล่นมือถือ
อาจารย์ : อาจารย์เป็นคนที่ใส่ใจนักศึกษาทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อาจารย์ก็คอยบอกและเตือนตลอด สอนจากเรื่องที่ยากๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่าย จนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริง

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561


วัน พุธ ที่ 14 เดือน พฤศจิกายน พ.. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้อาจารย์พานักศึกษาไปจัดโครงการสอนน้องทดลองวิทย์ ที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลับ ( บ้านเสือใหญ่ ) ตามที่ได้วางแผนไว้ มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้
1.      กลุ่มเรือดำน้ำ
2.      กลุ่มภูเขาไฟระเบิด
3.      กลุ่มลูกโป่งพองโต
4.      กลุ่มฟองอากาศ
5.      กลุ่มปั้มขวดและลิปเทียน
ทำให้ได้รู้จักการจักการเรียนการสอนกับเด็กปฐมวัย เพราะถ้าครูจัดการเรียนการสอนไม่ถูกต้อง เหมาะสมจะทำให้เด็กไม่สนใจและไม่อยู่ภายใต้การดูแล และรู้จักวิธีการเก็บเด็กให้สงบนิ่งอย่างถูกต้อง
ความรู้สึกหลังจากที่ได้ไปจัดโครงการ
            รู้สึกดีใจ สนุก ตื่นเต้นที่ได้ลงไปสอนเด็กปฐมวัยจริงๆ และกดดันเล็กน้อยกลัวว่าจะทำไม่ถูกต้อง และได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ถึงแม้อายุจะเท่ากันก็ตาม เพราะฉะนั้นเราควรประเมินพัฒนาการของเด็กก่อนทำการเรียนการสอน



    อาจารย์กำลังพานักศึกษาเดินไปมูลนิธิ                                                       กลุ่มภูเขาไฟระเบิด

                                                    

        กลุ่มเรือดำนำ                                                                                       กลุ่มลูกโปร่งพอโต

กลุ่มฟองอากาศ                                                                        กลุ่มปั้มขวดและลิปเทียน






การประเมิน
ตนเอง : สนุก ดีใจ ตื่นเต้นที่ได้สอนการทดลองกับเด็กปฐมวัยจริงๆ ทำให้มีประสบการณ์การฝึกสอน
เพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคนตั้งใจ สนุกและดีใจที่ได้ไปฝึกสอนน้องทดลองวิทยาศาสตร์
อาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจที่จะพาไปมาก เพราะอาจารย์อยากให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์และทักษะในการสอน อาจารย์เดินไปมูลนิธิร่วมกับนักศึกษาทำให้รู้สึกดีใจและสบายใจในระหว่างทาง


วัน พุธ ที่ 7 เดือน พฤศจิกายน.. 2561

ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอคลิปวิดีโอของกลุ่มตนเองที่อาจารย์มอบหมายให้ไปทำทั้งหมด 5 กลุ่ม พร้อมบอกข้อควรแก้ไขปรับปรุงซึ่งกลุ่มของดิฉันนำเสนอคลิป ภูเขาไฟระเบิด อาจารย์ก็ให้คำแนะนำมาว่า
1.      เขียนตัวหนังสือให้ชัดเจน
2.      ปรับปรุงคำถามในการถามเด็ก ให้เป็นคำถามปลายเปิดและตอบได้ทุกแบบ
3.      เพิ่มปัญหาและสิ่งที่อยากรู้ กระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน เช่น ถ้าเราเอาเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำยาล้างจานจะเป็นยังไง จะเกิดอะไรขึ้นไหม


ขณะอาจารย์สอน





ดูคลิปที่เพื่อนออกมานำเสนอ

การประเมิน
ตนเอง : วันนี้ดิฉันเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียนร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอคลิปวิดีโอของแต่ละกลุ่ม
เพื่อน : เพื่อนตั้งใจนำเสนอคลิปวิดีโอของกลุ่มตนเอง และหลังจากนั้นก็ตั้งใจฟังชองเพื่อนกลุ่มอื่นๆ ที่นำเสนอ
อาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อควรปรับปรุงของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี ทำให้รู้ว่าข้อผิดพลาดของกลุ่มตนเองเป็นยังไง ควรปรับปรุงยังไงให้ถูกต้อง


วัน พุธ ที่ 24 เดือน ตุลาคม พ.. 2561
ความรู้ที่ได้รับ : วิทยาศาสตร์ คือการใช้คำถามให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ สมมติฐานประเด็นปัญญา ฯลฯ
เทคนิควิธี ดูจากหลักสูตร มี 4 กลุ่ม
1 ตัวเด็ก
2 สิ่งแวดล้อมรอบตัว
3 บุคคลและสถานที่
4 ธรรมชาติรอบตัว
หลักคิดในการสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็ก
1 เรื่องที่จะสอนเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะเด็กสามารถคิดวิเคราะห์ได้ ใช้ประสบการเดิมได้
2 มีผลกระทบต่อเด็ก เช่น อากาศ
3 เลือกให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
4 ออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยการเล่น ให้เด็กลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การทำงานของเด็กสัมพันธ์กับสมอง
*ขั้นอนุรักษ์ คือ เด็กตอบตามที่ตาเห็น แต่ถ้าเด็กเริ่มใช้เหตุผลคือเริ่มผ่านการอนุรักษ์

ขั้นตอนการสอนวิทยาศาสตร์เด็ก
 1 แนะนำตัวเอง
2 ดูอุปกรณ์ ถามประสบการณ์เดิม
3 มีสัญลักษณ์ที่แก้วแต่ละใบ
4 ตั้งคำถามว่าวันนี้เราจะมาทำอะไร สู่กระบวนการวิทยาศาสตร์

คลิปการทดลองของ
เดี๋ยวครูจะพามารู้จักอุปกรก่อนทดลองนะคะ
- ประเด็นปัญหา เด็กอยากรู้ไหมคะว่าแก้วใบไหนมีระดับน้ำสูงกว่า ต่ำที่สุด 🚫🚫🚫
1 อยากรู้ว่าถ้าเอาน้ำสีใส่ภาชนะ 1 2 3 ใส่อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
2 ถ้าครูเทน้ำใส่ภาชนะ 1 2 3 ระดับน้ำในภาชนะทั้ง 3 จะเป็นยังไง
3 ถ้าครูเทน้ำ 1 แก้วใส่ภาชนะ 1 2 3 จะเป้นอย่างไร
4 งั้นเรามาเริ่มทดลองกันเลย และเด็กๆอย่าลืมสังเกตนะคะ ครูเทน้ำ 1 แก้วใส่ใบที่ 123 แล้วนะคะ เด็กๆสังเกตสิว่าน้ำในภาชนะไหนมีปริมาณน้ำเป็นยังไง
5 สรุปว่าน้ำในภาชนะมีปริมาณเท่ากัน
6 วิธีการประเมินของเด็กโดย วิธีการสังเกตโดยการจดบันทึก อัดวิดีโอ สนทนาซักถามโดยการบันทึก การวาดภาพ (วาดแก้วอีกใบ หรือวาดระดับน้ำในแก้ว น้ำมาจากแก้วไหน)
* ทุกคำพูดคือตัวกระตุ้น
*สิ่งที่เด็กตอบคือสิ่งที่เด็กเห็น และเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

เพื่อนในห้องออกมานำเสนอคลิปวิดีโอที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ
1 นก ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่
2 แป้งเล็ก ลูกข่างหลากสี
3 แพท ชั่งน้ำหนักจากไม้แขวนเสื้อ
4 พิมพ์ เรือจากแรงลม
อาจารย์ให้คำแนะนำ ความรู้ และติชมในการทำคลิปการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและอาจารย์สั่งการบ้านให้ไปทำคลิปการสอนวิทยาศาสตร์แก่เด็กมากลุ่มละ 1 เรื่อง

ขั้นตอน
1 อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมโยงความรู้เดิม ตั้งประเด็นปัญหา
2 ตั้งสมมติฐานโดยครูเป็นคนกระตุ้นให้เด็กตั้งสมมติฐาน
3 เข้าสู่กระบวนการทดลอง เด็กต้องคอยสังเกตให้ดีนะคะ เราต้องทำเป็นลำดับขั้นตอน ย้ำให้เด็กเห็น
4 สรุปการทดลองให้เด็กได้รู้



การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน แต่งตัวเรียนร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน : เพื่อนส่วนมากตั้งเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์ ตอบคำถาม ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามจากอาจารย์เป็นอย่างดี
อาจารย์ : มาสอนตรงเวลาทุกคาบ แต่งตัวสวยงามเหมาะสม อธิบายงานได้ละเอียด ใจดี บางครั้งอาจารย์จะมีมุกตลกแทรกเข้ามาทำให้ผ่อนคลายในการเรียน

วันที่ 17 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์มอบหมายงานให้ทำงานกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในกลุ่มของตนเองมา 1 กิจกรรม เพื่อมานำเสนอไปจัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยที่มูลนิธิเด็ดอ่อนในสลัม ( บ้านเสือใหญ่ ) ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 จากนั้นให้แต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนโครงการขึ้นมา มีดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. หลักการและเหตุผล
3. สถานที่
4. งบประมาณ
5. วัสดุ – อุปกรณ์
6. วิธีการวัดและประเมินผล

จุดประสงค์
1. เด็กๆ อธิบายการเกิดก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ได้
2. เด็กๆ ทดลองการเกิดภูเขาไฟระเบิดได้

วัสดุอุปกรณ์       
    1.      เบกกิ้งโซดา
    2.      น้ำมะนาว
    3.      น้ำเปล่า
    4.      สีผสมอาหาร
    5.      น้ำยาล้างจาน
    6.      แก้วน้ำ
    7.      ดินน้ำมัน
    8.      จาน
    9.      หลอดหยด
   10. ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. เด็กๆ ปั้นดินน้ำมันลงบนจานให้เป็นรูปกรวยสูง 5 เซนติเมตรแล้วทำเป็นปากปล่องภูเขาไฟ
2.ใส่เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ ลงในปล่องภูเขาไฟ
3.หยดน้ำยาล้างจาน 3 หยด ลงไป
4.ใส่น้ำสีผสมอาหารที่ผสมแล้วลงไป 3 หยด
5.ใส่น้ำมะนาว  3 หยด ลงไปในปล่องภูเขาไฟ
6. เด็กๆ สังเกตการณ์ทดลอง จะมีฟองขึ้นมาที่ภูเขาไฟจำลอง
7. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและอภิปลายผลการทดลอง




ขณะทำกิจกรรม


ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมภูเขาไฟระเบิด


การประเมิน
ตนเอง : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อยและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีมากค่ะ
เพื่อน : เพื่อนๆ ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และช่วยกันทำงานกลุ่ม
อาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำงานกลุ่มดีมากค่ะ อธิบายการทำโครงการได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วันที่ 10 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ช่วงแรกอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าคืออะไร เช่น ฟองสบู่ทำไมถึงเป็นทรงกลมและลอยได้ เพรา ลมที่เราเป่าออกจากปากเป็นอากาศที่อบอุ่น เบากว่าอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวเรา หลังจากเราเป่าฟองสบู่แล้ว ฟองสบู่จะค่อยๆ ลอยสูงขึ้นสักครู่หนึ่งเมื่ออากาศในฟองสบู่เย็นลง ก็จะหนักขึ้นทำให้ตกลงมา 



ช่วงท้ายชั่วโมงเพื่อนนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรายบุคคลหน้าชั้นเรียน ดังนี้
1. นางสาวทิพย์ นวลอ่อน เรื่อง ฟองสบู่


2.นางสาวเพ็ญประภา บุญมา เรื่อง ลูกโป่งหรรษา



3.นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย เรื่อง การแยกพริกไทยและเกลือออกจากกัน


4.นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา เรื่อง เรือดำน้ำ


5.นายปฏิภาน จินดาดวง เรื่อง ภาพต่อปริศนา


การประเมิน
ตนเอง : มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น และรู้จักหลักเกนในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เพื่อน : เพื่อนๆ ที่นำเสนอก็นำเสนอได้ดีและเข้าใจง่าย ส่วนคนที่ฟังก็ให้ความร่วมมือและตั้งใจเป็นอย่างดี
อาจารย์ : อธิบายได้เข้าใจและเป็นกันเองมากค่ะ