วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วันที่ 10 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ช่วงแรกอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าคืออะไร เช่น ฟองสบู่ทำไมถึงเป็นทรงกลมและลอยได้ เพรา ลมที่เราเป่าออกจากปากเป็นอากาศที่อบอุ่น เบากว่าอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวเรา หลังจากเราเป่าฟองสบู่แล้ว ฟองสบู่จะค่อยๆ ลอยสูงขึ้นสักครู่หนึ่งเมื่ออากาศในฟองสบู่เย็นลง ก็จะหนักขึ้นทำให้ตกลงมา 



ช่วงท้ายชั่วโมงเพื่อนนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรายบุคคลหน้าชั้นเรียน ดังนี้
1. นางสาวทิพย์ นวลอ่อน เรื่อง ฟองสบู่


2.นางสาวเพ็ญประภา บุญมา เรื่อง ลูกโป่งหรรษา



3.นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย เรื่อง การแยกพริกไทยและเกลือออกจากกัน


4.นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา เรื่อง เรือดำน้ำ


5.นายปฏิภาน จินดาดวง เรื่อง ภาพต่อปริศนา


การประเมิน
ตนเอง : มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น และรู้จักหลักเกนในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เพื่อน : เพื่อนๆ ที่นำเสนอก็นำเสนอได้ดีและเข้าใจง่าย ส่วนคนที่ฟังก็ให้ความร่วมมือและตั้งใจเป็นอย่างดี
อาจารย์ : อธิบายได้เข้าใจและเป็นกันเองมากค่ะ

วันที่ 3 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561

วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไปทำธุระที่ต่างจังหวัดจึงได้ลอกบล็อคของ นางสาวพิมพ์สุดา จันทะภา เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู็
(เนื้อหาตามลิงค์)
วันพุธ ที่ 19 เดือน กันยายน พ.ศ. 2561
       
ความรู้ที่ได้รับ
               วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเรื่องการทำ blogger ของนักศึกษาทุกคนว่าควรปรับปรุงให้ดีและเรียบร้อยกว่านี้ หลังจากนั้นอาจารย์แจกใบความรู้บ้านวิทยาศาสตร์น้อยให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่นเพื่อสรุปการทดลอง 




การทดลอง "เรือง ปริมาณน้ำมนแก้วเท่ากันหือไม่''

วัสดุอุปกรณ์
1.ภาชนะที่รูปร่างต่างกัน
2.กระบอกตวง
3.กรวยพลาสติก
4.ปากกาเคมี
5.ภาชนะสำหรับรองน้ำ

เริ่มต้นจาก
1.หาภาชนะหลายๆ แบบที่มีขนาดต่างกัน เช่น ความสุง ขนาด
2.ให้เด็กแต่ละคนเลือกภาชนะมาคนละ 2 ใบ แล้วเติมน้ำลงภาชนะทั้ง 2 ใบ ที่ลักษณะแตกต่างกันแต่ปริมาณน้ำเท่ากันด้วยตนเอง
3.ตั้งคำถามว่าภาชนะไหนมีน้มากกว่ากันและเพราะอะไร
4.สังเกตเห็นอะไรบ้าง
5.ครูพยายามให้เด็กๆ ใช้การตั้งสมมติฐานและการสังเกต โดยการใช้คำเหล่านี้ในการอธิบาย มากกว่า น้อยกว่า สูงกว่า และเตี้ยกว่า

ภาพรวมจากกิจกรรม
เด็กๆ จะได้เปรียบเทียบภาชนะที่มีความจุต่างกัน และภาชนะที่มีขนาดใหญ่จะมีความจุเป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับภาขนะขนาดเล็ก



และต่อมาอาจารย์ให้นำฝาขวดน้ำมาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์คนละ 1 ชิ้น ภายในชั่วโมงเรียน ซึ่งดินฉันทำกังหันจากฝาขวดน้ำแต่ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากหมดเวลาก่อน





การประเมิน
ตนเอง : สนุกกับการเรียนและตื่นเต้นที่ได้ประดิษฐ์สื่อด้วยตนเอง
เพื่อน : เพื่อนๆ ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
อาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจง่ายดีค่ะ